เมื่อคุณแม่ท้อง ATK เป็นบวก ต้องทำอย่างไร?

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่านย่อมมีความกังวลเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งคุณแม่จำเป็นต้องดูแลป้องกันและสังเกตอาการตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์

เนื่องจากคุณแม่ตั้งครรภ์ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงได้ โดยเฉพาะคุณแม่ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง SLE เป็นต้น

ข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ปัจจุบันจำนวนตัวเลขกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ และหญิงหลังคลอด 6 สัปดาห์ รวมถึงทารกแรกเกิด มีแนวโน้มสูงขึ้น ซึ่งคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มที่จะส่งต่อเชื้อไปยังทารกในครรภ์ได้ 2-5% อาจมีโอกาสทำให้คลอดก่อนกำหนด และมักไม่แสดงอาการในคุณแม่ตั้งครรภ์บางท่าน

วันนี้เราจะพามาแนะนำแนวทางปฏิบัติสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 กัน คุณแม่ตั้งครรภ์ควรสังเกตอาการตนเองอยู่เสมอ

อาการของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีเชื้อโควิด

  1. มีไข้
  2. ไอแห้งๆ
  3. อ่อนเพลีย
  4. หายใจติดขัด
  5. ท้องเสีย
  6. เจ็บคอ มีน้ำมูก

ซึ่งอาการอาจแตกต่างกันออกไป

เมื่อคุณแม่สังเกตอาการตนเองแล้ว หากไม่มั่นใจ สามารถตรวจ ATK ด้วยตนเองหรือให้คนใกล้ชิดตรวจให้ได้ช่วยยืนยันอีกที

 

หากคุณแม่ตั้งครรภ์ ตรวจ ATK ด้วยตนเองแล้ว ขึ้น “สองขีด” อย่าเพิ่งวิตกกังวลไป! แต่ควรติดต่อประสาน ศูนย์ให้ข้อมูลฯ และเข้ารับการตรวจ RT-PCR เพื่อยืนยันที่โรงพยาบาลใกล้บ้านอีกครั้ง

ในระหว่างนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 ให้แยกตัวจากคนในครอบครัวก่อนสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ให้นึกเสมอว่าเรายังสามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นๆ ในครอบครัวได้ โดยเ​ฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ

หลังจากได้รับผล RT-PCR เป็นบวก (ซึ่งเป็นผลจากห้อง Lab) คือ เป็นโควิดจริงๆ ทางโรงพยาบาลจะแจ้งผลและให้ทำตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่

โดยคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 อาจได้รับการรักษา 2 แนวทางซึ่งต้องได้รับการประเมินอาการก่อน

  1. Home isolation คือ สังเกตอาการอยู่บ้าน โดยทีมแพทย์จะส่งเครื่องมือต่างๆเช่น เครื่องวัดระดับออกซิเจนและยาต่างๆ เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ไอไปให้ และ จะมีการโทรไปสอบถามอาการ
  2. Admit เข้าโรงพยาบาล หากคุณแม่มีโรคประจำตัว อายุครรภ์มากแล้ว หรือ มีอาการหอบเหนื่อย หายใจเร็ว ไข้สูง หรือ สังเกตอาการอยู่บ้าน 2-3 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ซึ่งจะต้องมีการเอ็กซเรย์ปอดและพิจารณาให้ยาต้านไวรัส

สำหรับ ฟ้าทะลายโจร คนท้องทานได้ไหม ?
ในความเห็นทางการแพทย์ส่วนใหญ่ ยังไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตรแต่หาก คุณแม่ตั้งครรภ์ได้รับเชื้อ-โควิด 19 จะมีแนวทางการรักษา คือ
– การให้ยาต้านไวรัสในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง หรือ ให้ยาปฏิชีวนะหากติดเชื้อแบคทีเรีย หรือในบางท่านที่มีอาการรุนแรง จะใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งทุกท่านต้องอยู่ภายใต้การประเมินอาการและการดูแลของแพทยื

เนื่อจากข้อจำกัดในการรักษาคุณแม่ตั้งครรภ์ป่วย COVID-19 คือ การใช้ยาเพราะบางชนิด อาจมีผลข้างเคียงต่อคุณแทม่และทารกในครรภ์

ฉีดวัคซีนโควิดยังจำเป็นไหม?
ในทางการแพทย์ วัคซีนสำหรับคุณแม่ยังจำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องรับวัคซีนให้ครบโดสเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทั้งตัวคุณแม่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์

ถ้าคุณแม่หลังคลอดติดโควิด!!
ยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการในการแพร่เชื้อไวรัสผ่านทางน้ำนม ดังนั้นคุณแม่หลังคลอดที่อยู่ระหว่างการให้นมบุตร หากได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 และมีอาการไม่รุนแรงที่ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติก็สามารถใกล้ชิด และให้นมทารกได้ แต่ต้องปฏิบัติตามแนวทางป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด

โดยสวมหน้ากากอนามัยและล้างมือให้บ่อยขึ้นแต่ในคุณแม่ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง ที่ได้รับยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) และดารุนาเวียร์ (Darunavir) ไม่ควรให้นมเพราะฤทธิ์ของยาอาจส่งผลผ่านทางน้ำนมได้

ทั้งนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 จะต้องดูแลตัวเองให้ดีที่สุดพบแพทย์ตามนัดหมาย  ฉีดวัคซีนโควิด-19 เมื่ออายุครรภ์ครบ 3 เดือนหรือ 12 สัปดาห์ตามคำแนะนำของแพทย์สวมหน้ากากอนามัย ลดการเดินทางในที่สาธารณะหรือชุมชนที่แออัด ล้างมือให้บ่อย เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 

อย่าวิตกกังวลจนเกินไป รับฟังข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และหากคุมีอาการที่รุนแรงมากขึ้น ต้องเข้าระบบการรักษาโดยเร็วที่สุดและปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรคเป็นวิธีการที่จะช่วยป้องกันตัวคุณแม่และคนในครอบครัว

ดูแลตนเอง เพื่อคนที่คุณรัก ให้ทุนคนมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

คลินัท มาเทอร่า

Good Health and Wel-Being

”เติมเต็มสุขภาพที่ดีเพื่อทุกคนในครอบครัว”

Facebook
Twitter
LinkedIn

เรื่องที่น่าสนใจ